‘เอพี ไทยแลนด์’ ร่วมขับเคลื่อนสังคมไทย ชูแนวคิด พื้นที่บนโซเชียลมีเดียเป็นของคนทุกวัย        

‘เอพี ไทยแลนด์’ ร่วมขับเคลื่อนสังคมไทย

ชูแนวคิด พื้นที่บนโซเชียลมีเดียเป็นของคนทุกวัย                                      

  • ต่อยอดวิสัยทัศน์ ‘AP WORLD’ มุ่งสร้างสรรค์โลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้ปรัชญา JOY แนวคิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว
  • จับมือกับช่างภาพสตรีทชื่อดังเจ้าของรางวัลระดับนานาชาติ ต่อยอดโปรเจคขับเคลื่อนสังคม (Social Movement) ‘PARENTOGRAPHER’ ลดระยะห่างระหว่างเจเนอเรชั่น เชื่อมต่อความสัมพันธ์ผ่านการสร้างโมเม้นท์แห่งความทรงจำด้วยภาพถ่าย

กรุงเทพฯ (3 ธ.ค. 62) – เอพี ไทยแลนด์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แถวหน้าและผู้นำในการริเริ่มสร้างสรรค์พิมพ์เขียวแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อทุกคนในสังคม นำโดย นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ เดินหน้าสานต่อพันธกิจในการส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านปรัชญา JOY แนวคิดในการสร้างความอุ่นใจเพื่อการอยู่อาศัยอย่างมีความสุข จับมือช่างภาพชื่อดัง  ‘ทวีพงษ์ ประทุมวงษ์’ เจ้าของรางวัลชนะเลิศจากการถ่ายภาพสตรีทระดับนานาชาติ ต่อยอดโปรเจคขับเคลื่อนสังคม (Social Movement Project) ‘PARENTOGRAPHER’ โปรเจคพิเศษที่จัดขึ้นเพื่อจุดประกายให้คนในสังคมหันมาตระหนักถึงระยะห่างของความสัมพันธ์ในครอบครัว ในวันที่โลกโซเชียลมีเดีย ผลักให้รูปแบบชีวิตของคนแต่ละวัยหลุดออกจากกันได้อย่างง่ายดาย ผ่านกิจกรรมถ่ายภาพที่มุ่งกระชับความสัมพันธ์ที่ดีของคนในบ้านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้วยความเชื่อที่ว่าแค่เราพยายามเข้าหากันพื้นที่ไหนๆ ก็เป็นบ้านได้เสมอโดยได้รับความสนใจจากเหล่าเซเลบริตี้คนดังมากมาย อาทิ บอย-ปกรณ์ มัดหมี่-พิมพ์ดาว และพะเพื่อน-ชุติมณฑน์

นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ เอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า “โปรเจค PARENTOGRAPHER เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจหลักในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคม เป็นอีกความตั้งใจของเอพีที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสิ่งดีๆ ให้กับสังคมไทย ซึ่งทุกวันนี้กิจกรรมต่างๆ ล้วนถูกขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ต่างๆ เกิดขึ้นผ่านโลกโซเชียลจนทำให้หลายคนลืมใส่ใจความสัมพันธ์ของคนรอบๆ ตัว ไม่ค่อยได้ไปไหนกับพ่อแม่ ไลฟ์สไตล์ส่วนใหญ่ อยู่แต่ในโลกออนไลน์ จนพ่อแม่รู้สึกห่างไกลจากโลกของลูก ในฐานะที่เอพีเป็นผู้ที่สร้างที่อยู่อาศัย เราจึงต่อยอดการสร้างความสุขที่ควรจะเกิดขึ้นในบ้าน ด้วยความเชื่อที่ว่า แค่เราพยายามเข้าหากันพื้นที่ไหนๆ ก็เป็นบ้านได้เสมอ แม้แต่พื้นที่บนโซเชียลมีเดียก็สามารถเชื่อมโลกต่างวัยเข้าหากันได้ ผ่านการสร้างโมเม้นท์แห่งความทรงจำด้วยภาพที่ถูกถ่ายโดยพ่อแม่ พร้อมเปลี่ยนทุกพื้นที่ให้เป็นบ้านของคนทุกวัยตอกย้ำปรัชญา JOY แนวคิดการสร้างความอุ่นใจเพื่อการอยู่อาศัยอย่างมีความสุขของทุกคนในครอบครัว ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘AP WORLD’ ที่มุ่งสร้างสรรค์โลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี

เอพี เชื่อว่ารูปที่มีความหมายที่สุด คือรูปที่คนที่บ้านถ่ายให้ และภาพแต่ละใบเป็นตัวแทนที่ดีในการบันทึกความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นร่วมกันในโมเมนต์หนึ่ง ประกอบกับกิจกรรมถ่ายภาพเป็นกิจกรรมที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเจน จึงเป็นที่มาของโปรเจค PARENTOGRAPHER อีกหนึ่งกระบอกเสียงสำคัญ ที่เชื่อมโลกทั้ง 2 ใบ ทั้งโลกจริง และโลกออนไลน์ให้เป็นโลกใบเดียวกันได้อย่างลงตัว” นายวิทการ กล่าว

นายทวีพงษ์ ประทุมวงษ์ ช่างภาพสตรีทไทยผู้สร้างชื่อในระดับโลก กล่าวว่า “เราพยายามปรับเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดเทคนิคถ่ายภาพครั้งนี้ว่ามันคือการสร้างความสัมพันธ์ และความใกล้ชิดให้เกิดขึ้นระหว่างคนที่ถ่าย และถูกถ่าย โดยเน้นการถ่ายภาพบรรยากาศที่ใช้เวลาอยู่ด้วยกัน ซึ่งผลลัพธ์จะออกมาสวยหรือไม่สวยนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือคนถ่ายนั้นเป็นใคร หลังจากการเวิร์คช็อปในวันนี้ คาดว่าคุณพ่อ คุณแม่ จะนำเคล็ดลับการถ่ายภาพไปใช้ได้จริง และกล้าที่จะหยิบกล้องขึ้นมาถ่าย Happy Moment มากขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของความสัมพันธ์เกิดเป็นช่วงเวลาคุณภาพของครอบครัว”

บอย-ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ ดารานักแสดงชื่อดัง กล่าวว่า “รู้สึกยินดีที่เอพีเห็นความสำคัญของการกระชับความสัมพันธ์ภายในบ้าน ทุกวันนี้ เราให้เวลากับโซเชียลมีเดียมากขึ้น จนเกิดระยะห่างระหว่างมนุษย์ในสังคมจริง โดยเฉพาะกับคนในครอบครัว การถ่ายภาพถือว่าทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ทุกคนทำได้ด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว อีกทั้งยังเป็นไอเดียที่ดีในการพาพ่อ-แม่เข้าไปอยู่ในโลกโซเชียลของเราได้ด้วย โดยปกติแล้วคุณแม่ผมชอบเล่นโซเชียลมีเดีย รูปในอินสตาแกรมบางรูปคุณแม่ก็เป็นคนถ่าย ผมว่าภาพจะสวยหรือไม่นั้นมันไม่สำคัญ แต่โมเม้นท์ที่เกิดขึ้นระหว่างถ่ายภาพนี่แหละที่มีคุณค่ามากที่สุด เอพี Parentographer ในวันนี้ทำให้หลายๆ ครอบครัวที่มาใกล้ชิดกันมากขึ้น สามารถชี้ให้คนในสังคมเห็นได้อย่างชัดเจนว่าพื้นที่บนโลกออนไลน์ และพื้นที่ของโลกจริงๆ เป็นที่ที่คนทุกวัยเข้าถึงได้”

คุณแม่งามทิพย์ ฉัตรบริรักษ์ ตัวแทนคุณแม่รุ่นใหม่ กล่าวว่า “การรับข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ และการโพสต์ภาพต่างๆ ในโซเชียลต้องยอมรับว่ากลายเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว คนสมัยนี้เลยขาดการติดต่อกันแบบ face to face เอพี Parentographer เป็นเสมือนตัวช่วยที่ทำให้เรากลับมาใกล้ชิดกับคนรอบตัวเรามากขึ้น ส่วนตัวแม่เองเริ่มเล่นโซเชียลมีเดีย เพราะเห็นลูกๆ เล่น จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในโลกของเขาด้วย สิ่งสำคัญที่ปลูกฝังพวกเขาคือความเป็นครอบครัวจะพูดเสมอว่าไปไหนต้องไปด้วยกัน แม้ลูกๆ จะมีสังคมของตัวเอง แต่ก็ต้องไม่ลืมคนที่บ้านด้วย เวลาว่างเราก็จะออกไปทานข้าวและไปเที่ยวด้วยกัน เราทำแบบนี้มาตลอด หลังๆ มานี้ได้เทคนิคดีๆ ในการถ่ายภาพให้ลูกมาปรับใช้เยอะมากๆ พร้อมอัพสกิลเป็นช่างภาพ ส่วนตัวของลูกๆ ได้สบาย”

มัดหมี่-พิมดาว พานิชสมัย นักร้องนักแสดงสาวมากความสามารถ กล่าวว่า “เอพี Parentographer ทำให้เรารู้สึกอยากพาคุณพ่อ คุณแม่ออกไปเที่ยวแล้วถ่ายรูปเล่นด้วยกัน เพราะการถ่ายรูป คือสิ่งที่คนทุกรุ่นทุกวัยเข้าได้ง่ายที่สุด เมื่อเราได้รูปสวยๆ ก็อยากจะโพสต์ลงโซเชียล ยิ่งถ้าพ่อแม่สามารถถ่ายรูปสวยๆ ให้เราได้ ก็ยิ่งอยากแชร์ ให้คนได้รู้ว่าพ่อแม่เราถ่ายรูปเก่ง เรามองว่าการถ่ายรูปลงโซเชียลคือการเชื่อมโยงโลกแห่งความจริงเข้ากับโลกออนไลน์ได้อย่างลงตัว และยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบข้างได้อีกด้วย”

คุณแม่อุ๊-มณฑ์ลัชชา สกุลไทย กล่าวว่า “ไลฟ์สไตล์ของเด็กรุ่นใหม่คือ เขาจะมีโลกของตัวเอง คุยกันผ่านโซเชียลมีเดีย หรือไม่ค่อยได้เจอหน้ากันทำให้บางครั้งความสัมพันธ์กับพ่อแม่ห่างเหินไป โดย เอพี Parentographer เป็นความตั้งใจของเอพีที่ถือเป็นอีกกระบอกเสียงช่วยให้คนในสังคมหันกลับมาสร้าง Real Relationship ระหว่างคนในครอบครัวกันมากขึ้น นำมาสู่ความใกล้ชิดระหว่างคนสองวัย เทคนิคในการดูแลความสัมพันธ์ให้อบอุ่นในสไตล์แม่คือ การแชร์เรื่องราวในแต่ละวันให้กันฟัง พยายามหาเวลาว่างตรงเพื่อออกไปทำกิจกรรมร่วมกัน และเชื่อว่าหลังจากเวิร์คช็อปการถ่ายภาพวันนี้เหล่าคุณพ่อคุณแม่จะได้เทคนิค วิธีการหามุมเผลอๆ มีสไตล์ ให้ลูกๆ พร้อมแชร์รูปที่แม่ถ่ายเพื่อทำให้พื้นที่บนโซเชียลเป็นพื้นที่ของทุกๆ คน”

“เอพี ไทยแลนด์ กล้าที่จะแตกต่าง ผู้นำด้านนวัตกรรมการดีไซน์ เพื่อการอยู่อาศัยในเมือง”